การเลือกตั้งเลขาธิการองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands Forum-PIF)

การเลือกตั้งเลขาธิการองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands Forum-PIF)

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,726 view

    เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นาย Henry Puna อดีตนายกรัฐมนตรีหมู่เกาะคุกได้รับเลือกตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands Forum-PIF) โดยชนะนาย Gerald Zackios ผู้แทนถาวรหมู่เกาะมาร์แชลล์ประจำ UN ในการลงคะแนนลับไปด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๘ เสียง อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้แก่กลุ่มประเทศ Micronesia ที่เป็นสมาชิก PIF และสนับสนุนนาย Gerald Zackios ได้แก่ ปาเลา นาอูรู คิริบาส ไมโครนีเซีย และหมู่เกาะมาร์แชลล์ โดยประเทศดังกล่าวเห็นว่า การเลือกตั้งเลขาธิการ PIF ครั้งนี้ เป็นวาระของผู้สมัครจากกลุ่มประเทศ Micronesia ที่ควรจะได้รับคัดเลือกให้ดำรงตาแหน่งเลขาธิการ PIF ไม่ใช่กลุ่มประเทศ Polynesia (ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะคุก ตองกา ซามัว คิรีบาสและตูวาลู)

 

5421188-16x9-xlarge

นาย Henry Puna อดีตนายกรัฐมนตรีหมู่เกาะคุกได้รับเลือกตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์กรการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก - ที่มาของภาพ : AFP/Marty Melville

 

eight_col_Zackios_Gerald_Sep_11

นาย Gerald Zackios ได้รับการสนับสนุนจากปาเลา นาอูรู คิริบาส ไมโครนีเซีย และหมู่เกาะมาร์แชลล์ - ที่มาของภาพ : Marshall Islands Journal

 

    นาอูรูแสดงความไม่พอใจต่อผลการเลือกตั้งและแสดงท่าทีว่าจะถอนตัวจาก PIF ในขณะที่ หมู่เกาะมาร์แชลล์จะพิจารณาบทบาทของตนเองในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม นอกจากนี้ ปาเลายังได้ ประกาศว่า จะถอนตัวออกจากกลุ่ม PIF และปิดสถานเอกอัครราชทูตปาเลาที่กรุงซูวา สาธารณรัฐฟิจิซึ่งเป็นที่ตั้งของสานักงานเลขาธิการ PIF รวมถึงยังได้กล่าวพาดพิงออสเตรเลียว่า ให้การสนับสนุนผู้สมัครกลุ่ม Polynesia เพื่อคงอิทธิพลของออสเตรเลียในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ โดยปาเลาเห็นว่า ที่ผ่านมาออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์สนับสนุนกลุ่ม Polynesia และมองว่า กลุ่ม Micronesia มีความใกล้ชิดและอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐฯ

 

13130844-3x2-xlarge

ธงกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก PIF - ที่มาของภาพ : AFP: Mike Leyral

 

   PIF เป็นองค์กรความร่วมมือในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๑๔ ภายใต้ชื่อ ‘The South Pacific Forum’ และเปลี่ยนเป็น PIF เมื่อปี ๒๕๔๒ ปัจจุบัน มีสมาชิกประกอบด้วยประเทศและดินแดนหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวม ๑๘ ประเทศ โดยมีเลขาธิการ PIF ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากประเทศสมาชิกและมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ทั้งนี้ ไทยมีสถานะเป็นประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) ของ PIF มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ