ชิลีประเทศแรกในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิด–19 ให้กับประชาชน

ชิลีประเทศแรกในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่เริ่มฉีดวัคซีนโควิด–19 ให้กับประชาชน

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ม.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 27 พ.ย. 2565

| 790 view

      เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ชิลีได้เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด–19 ให้แก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์เป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาภายหลังจากได้รับวัคซีนชุดแรกจำนวน 10,000 ชุด จากบริษัท Pfizer-BioNtech โดยชาวชิลีคนแรกที่ได้รับการฉีดวัคซีนดังกล่าวคือ นาง Zulema Riquelme อายุ 46 ปี พยาบาลประจำโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตยากจนของกรุงซันติอาโก

 

D24I3B3KPZDGRPZW2CLIPXXZIQ

นาง Zulema Riquelme พยาบาลประจำโรงพยาบาลรัฐบาลกรุงซันติอาโกเป็นชาวชิลีคนแรกที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด–19 // ที่มาของรูป : AFP

 

      รัฐบาลชิลีมีข้อตกลงสั่งซื้อวัคซีนจากบริษัท AstraZeneca บริษัท Pfizer-BioNtech และบริษัท Sinovac รวมทั้งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ COVAX (COVID-19 Vaccine Global Access Facility) ขององค์การอนามัยโลกซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลชิลีคาดว่า ชาวชิลีร้อยละ 80 (15.2 ล้านคน) จะได้รับวัคซีนดังกล่าวภายในครึ่งปีแรกของปี 2564 

 

_116243724_2b7406c0-ebf4-4c18-b768-723d24eea960

นาย Sebastián Piñera ประธานาธิบดีชิลีกำลังเผ้าดูการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลชิลีสั่งซื้อจากบริษัท AstraZeneca บริษัท Pfizer-BioNtech และบริษัท Sinovac

// ที่มาของรูป : REUTERS/Ivan Alvarado

 

      ผลการสำรวจพบว่า ชาวชิลีเพียงร้อยละ 36 ประสงค์จะได้รับวัคซีนในโอกาสแรก และร้อยละ 22 ของชาวชิลีไม่ต้องการรับวัคซีน ทั้งนี้ ปัจจุบันชิลีมีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 625,483 คน สูงสุดเป็นอันดับที่ 25 ของโลก (สถานะวันที่ 7 มกราคม 2564) และรัฐบาลชิลีได้ประกาศขยายสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปจนถึงเดือนมีนาคม 2564 เพื่อรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวซึ่งคาดว่าจะเกิดการระบาดระลอกที่ 2 ในช่วงเดือนมกราคมศกนี้

 

กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้

มกราคม 2564

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ