บันทึกจากลาตินอเมริกา : สามสัปดาห์หลังแผ่นดินไหว

บันทึกจากลาตินอเมริกา : สามสัปดาห์หลังแผ่นดินไหว

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 พ.ย. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 6,116 view

บันทึกจากลาตินอเมริกา : สามสัปดาห์หลังแผ่นดินไหว


          ตั้งแต่ที่ผมเดินทางมาประจำการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก สาธารณรัฐชิลี เมื่อกลางเดือน ตุลาคม 2552 ก็มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง แต่ไม่มีครั้งไหนที่จะสำคัญมากกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ในช่วงเวลาเดียวกับที่ในเมืองไทยเป็นวันหยุดยาว 3 วัน ณ เวลาประมาณตีสามครึ่งของเช้าวันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งคนในชิลีส่วนใหญ่กำลังนอนหลับสนิท (ยกเว้นส่วนหนึ่งที่ยังอยู่ในคลับ หรือกำลังเดินทางกลับบ้านจากการเที่ยวคืนวันศุกร์) เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นในชิลี โดยมีศูนย์กลางอยู่ใต้พื้นดินประมาณ 35 กิโลเมตร ริมมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้เมืองกอนเซปซิออนซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของชิลี ทางใต้ของเมืองหลวงคือกรุงซันติอาโก วัดความสั่นสะเทือนได้ในระดับ 8.8 ตามมาตราริคเตอร์ แผ่นดินไหวครั้งนี้รู้สึกถึงความสั่นสะเทือนได้อย่างชัดเจนในกรุงซันติอาโก ซึ่งห่าง จากศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 325 กิโลเมตร โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในตึกสูง ในเวลาต่อมาไม่นาน ก็เกิดสึนามิ ติดตามมา โดยมีเมืองริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับผลกระทบหลายแห่ง ในขณะที่ไม่มีการเตือนภัยสึนามิ
            นอกเหนือจากชิลีที่ตั้งอยู่ในอเมริกาใต้แล้ว สถานทูตที่ซันติอาโกได้รับมอบหมายให้มีเขตอาณาดูแลประเทศในอเมริกา กลางอีก 3 ประเทศ คือคอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ และปานามา สัปดาห์นั้น ท่านทูตได้เดินทางไปยื่นพระราชสาส์นตราตั้ง ต่อประธานาธิบดีคอสตาริกา โดยเดินทางไปพร้อมเลขานุการเอก ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 และมีกำหนดเดินทาง กลับถึงชิลี ในเวลาประมาณตีห้าครึ่งของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553

          เมื่อมาเกิดเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งสร้างความเสียหาย ให้กับสนามบินกรุงซันติอาโกส่วนหนึ่งด้วย เครื่องบินจึงลงจอดไม่ได้ และต้องไปลงจอดฉุกเฉินที่เมือง Mendoza ในอาร์เจนตินา จากนั้น ก็บินต่อไปส่งให้ผู้โดยสารตั้งหลักที่กรุงบัวโนสไอเรส โชคยังดีที่มีวุฒิสมาชิกชิลีคนหนึ่งติดอยู่ ในเที่ยวบินเดียวกันนี้ด้วย (ในเวลาอีกไม่กี่วันต่อมา วุฒิสมาชิกคนนี้ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็น ประธานรัฐสภาชิลีโดยตำแหน่งด้วย) ดังนั้น เที่ยวบินนี้จึงสามารถเดินทางกลับไปชิลีได้เป็นกรณี (ค่อนข้าง) พิเศษโดยต้องไปลงจอดที่สนามบินเมือง Antofagasta ทางเหนือของชิลีก่อนเพื่อผ่านกระบวนการเข้าเมืองและศุลกากร แล้วจึงย้อนลงใต้ไปที่สนามบินกรุงซันติอาโก เมื่อคืนวันที่ 1 มีนาคม 2553 ผู้โดยสารต้องประสบความทุลักทุเล จากการต้องลงจากเครื่องบน runway ท่ามกลางความมืดอยู่พอสมควร แต่ก็เคราะห์ดีแล้วที่สามารถกลับมาได้ในวันนั้น มิฉะนั้น ก็อาจต้องรออีกหลายวัน เนื่องจากมีการปิดซ่อมสนามบินในวันรุ่งขึ้น  
        ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ สถานทูตมีข้าราชการอยู่สามคน เป็นเวลาสามวัน โดยไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มาช่วย ปฏิบัติงานได้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็ลุล่วงไปด้วยดี ต้องขอบคุณสมาชิกในครอบครัวข้าราชการ และข้าราชการกระทรวงฯ ที่ลาศึกษาต่ออยู่ในชิลี ซึ่งช่วยดำเนินการเรื่องต่างๆ ได้มาก ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทำให้สถานทูตมีภารกิจเพิ่มมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อแผนการทำงานที่วางไว้ แต่ก็นับเป็นประสบการณ์ล้ำค่าที่ข้าราชการสถานทูตยากจะลืมเลือน

          มีเกร็ดข้อมูลต่างๆ จากเหตุการณ์นี้มากมาย แต่ในที่นี้ จะขอบันทึกไว้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับภารกิจของสถานทูต ในสถานการณ์พิเศษ ซึ่งมีหลายอย่าง และต้องทำไปพร้อมๆ กัน เพื่อที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนข้าราชการ ที่สถานทูตสถานกงสุลในประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ สาธารณชนที่มีโอกาสได้อ่าน ก็อาจจะเข้าใจภารกิจของเจ้าหน้าที่ กระทรวงการต่างประเทศมากขึ้นด้วย 

1. การรายงานสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ

         หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ระบบสาธารณูปโภคและการสื่อสารต่างๆ ในชิลี ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ Internet Cable TV ฯลฯ ต่างขัดข้องทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้าราชการสถานทูตก็ต้องพยายามหาข้อมูลจากข่าววิทยุ และเก็บเล็กผสมน้อยจากแหล่งต่าง ๆ ใกล้ตัว เพื่อจะรีบทาโทรเลขรายงานเข้าไปให้กระทรวงฯ ทราบโดยเร็วที่สุด โดยที่ไม่สามารถแจ้งข่าวให้กระทรวงฯ ทราบทางโทรศัพท์ได้ สถานทูตก็พยายามหาช่องทางอื่นๆ ในการติดต่อ ผมเองไม่ได้ใช้ social network ที่ผ่าน websites อย่าง facebook หรือ twitter จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่า การใช้ social network ดังกล่าวผ่านโทรศัพท์มือถือในสถานการณ์นี้ จะทำได้มากน้อยเพียงใด แต่ก็พบด้วยตัวเองว่าการติดต่อ สื่อสารผ่าน BB messenger กับ Windows Live Messenger ทางโทรศัพท์มือถือ ก็ช่วยได้มากในสถานการณ์ฉุกเฉินนี้
         แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นในชิลีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง ประธานาธิบดีชิลีได้ออกมาแถลงเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2553 ว่า มีคนที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 2 ล้านคน โดยที่ classified ว่าเป็น “victim” มีจำนวน 800,000 คน เด็กนักเรียน 1 ล้านคน ไม่ได้เรียนหนังสือ มีบ้านเรือนถูกทาลาย หรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก 200,000 หลังคาเรือน ผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน (มีการปรับแก้ตัวเลขในส่วนของผู้เสียชีวิตกันหลายครั้ง) และมีผู้สูญหายมากกว่า 100 คน และประมาณการว่าจะต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟูประเทศประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับประมาณร้อยละ 17 ของ GDP ของชิลี

          สิ่งที่ช็อคความรู้สึกคนชิลีหลายคน ก็คือหลังจากเกิดเหตุ มีคนฉวยโอกาสขโมยข้าวของต่างๆ ตามร้านค้า รวมถึงโทรทัศน์ ตู้เย็น ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนชิลีหลายคนไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศของตนเอง รัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยให้ทหารเข้าไปดูแลพื้นที่ที่มีเหตุดังกล่าว แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ชิลีนี้มีความรุนแรงมากกว่าที่เกิดขึ้นที่เฮติ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 มากมาย (บางสำนักระบุว่า มีระดับความเข้มข้นรุนแรงมากกว่าถึง 500 เท่า) แต่ตัวเลขความเสียหายต่างๆ โดยเฉพาะผู้เสียชีวิตที่ชิลีมีน้อยกว่าที่เฮติ มากมายนัก เหตุผลหนึ่งน่าจะเป็นเพราะชิลีมีการเตรียมพร้อมที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารที่รองรับแผ่นดินไหว จำนวนอาคารที่มีการพังทลายจึงมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ กันมากเกี่ยวกับประสิทธิภาพของหน่วยงานรัฐบาล หลังจากที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ก็มีการลาออกและปลดออกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยพิบัติ โดยเฉพาะการเตือนภัยหลายคน มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่ากองทัพชิลีซึ่งมีบุคลากรและงบประมาณจำนวนมาก ไม่สามารถดำเนินการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น (ชิลีใช้จ่ายเงินด้านการทหารสูงที่สุดในลาตินอเมริกาเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร โดยเงินงบประมาณจานวนหนึ่งมาจากการขายทองแดงของรัฐ)

          มีข่าวลือด้วยว่า ณ วันที่เกิดเหตุ นางมิเชล บาเชเล็ท ประธานาธิบดีชิลี ไม่สามารถใช้เฮลิคอปเตอร์บินไปตรวจสถานที่ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะคนขับ ฮ. ไม่สามารถเดินทางไปยังฐานทัพที่จอด ฮ. ได้เนื่องจากมีอุปสรรคในการเดินทางจากบ้าน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองทัพชิลีซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับสึนามิ ก็ไม่สามารถ สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ที่ฮาวายเกี่ยวกับการเตือนภัยสึนามิได้ เนื่องจากอุปสรรคของภาษา จึงส่งโทรศัพท์ให้ ประธานาธิบดีบาเชเล็ทคุยกับฮาวายด้วยตนเอง ณ เวลาที่เขียนบันทึกนี้ก็มีกระแสข่าวว่า ญาติพี่น้องของคนที่เสียชีวิตจากสึนามิกำลังรวมตัวกันฟ้องร้องเรียกความเสียหาย จากรัฐที่คาดการณ์ผิดพลาดเรื่องการเตือนภัยสึนามิ ทำให้มีการสูญเสียชีวิต 
          ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นครั้งนี้มีความพิเศษตรงที่ว่า เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในชิลีพอดีพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายกลาง (centre-left) ได้ปกครองประเทศชิลีมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี หลังจากรัฐบาลเผด็จการ ทหารของนายพลเอากุสโต ปิโนเชต์ หมดอานาจลงเมื่อปี 2533 ในขณะที่รัฐธรรมนูญของชิลีกาหนดไว้ว่าประธานาธิบดี ไม่สามารถดารงตาแหน่งในวาระติดต่อกันได้ ประธานาธิบดีมิเชล บาเชเล็ท (ซึ่งเป็นผู้นาหญิงคนแรกของประเทศ และเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนสูงที่สุดเมื่อพ้นตาแหน่ง) จึงไม่สามารถลงสมัครชิงตำแหน่งได้ ต้องสนับสนุนให้อดีตประธานาธิบดีเอดูอาร์โด เฟร (เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนต่าที่สุด เมื่อพ้นตาแหน่ง เมื่อปี 2543) แข่งขันกับนายเซบาสเตียน ปิเญร่า มหาเศรษฐีนักการเมืองฝ่ายขวา คู่แข่งขันเดิมของ นางบาเชเล็ท เมื่อปี 2549
        ผลการเลือกตั้ง (รอบสอง) เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2553 ออกมาว่า นายปิเญร่าได้รับชัยชนะ โดยชนะแบบเฉียดฉิว ระดับร้อยละ 51.87 ต่อ 48.12 เป็นที่คาดหมายกันก่อนหน้านี้แล้วว่า เมื่อรัฐบาลฝ่ายขวาของนายปิเญร่าเข้าบริหารประเทศ ผู้บริหารของหน่วยงานของรัฐรวมถึงรัฐวิสาหกิจต่างๆ หลายพันตาแหน่งจะต้องถูกปลดออกหรือโยกย้าย ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น อย่างที่กระทรวงการต่างประเทศชิลี ภายในสัปดาห์แรกของการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ ก็มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูง ในตำแหน่งสำคัญหลายคน เหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 เกิดขึ้นก่อนที่นายปิเญร่าจะเข้ารับตาแหน่งไม่ถึงสองสัปดาห์ และเหมือนเป็นลางไม่ดี ช่วงใกล้เที่ยงของวันที่ 11 มีนาคม 2553 ระหว่างที่มีการจัดพิธีสาบานตนของนายปิเญร่า ที่รัฐสภาชิลี ที่เมืองบาลพาไรโซ ได้เกิด aftershocks ขึ้นหลายครั้ง โดยครั้งใหญ่ที่สุดวัดความสั่นสะเทือนได้ในระดับ 7.2 ตามมาตราริคเตอร์ ทำเอาผู้แทนประเทศต่างๆ ที่ไปร่วมพิธีต่างแตกตื่น และพิธีที่เกี่ยวข้องหลายพิธีต้องถูกยกเลิกไป

          ประธานาธิบดีใหม่ก็ต้องรีบเดินทางไปเยี่ยมเยียนประชาชนตามเมืองต่างๆ ที่รับผลกระทบนอกเหนือจากการรายงานสถานการณ์ภายหลังแผ่นดินไหว และความเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว สถานทูตก็ต้องติดตาม ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย ในแง่ของเศรษฐกิจนั้น ผู้วิเคราะห์บางรายระบุว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น อาจทาให้ GDP ของชิลีเพิ่มมากขึ้นจากที่เคยประมาณการก่อนหน้านี้ด้วยซ้าไป ด้วยเหตุที่ชิลีมีเศรษฐกิจที่แข็งแรง และ ภาคก่อสร้างจะเติบโตอย่างมาก เพราะการฟื้นฟูประเทศ สินค้าออกที่สาคัญที่สุดของชิลีคือทองแดง ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิเท่าใดนัก ในขณะที่สินค้าส่งออก ที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างชัดเจน มีอาทิ อาหารทะเล ทั้งผลกระทบทางระบบนิเวศวิทยาและอุตสาหกรรมการผลิต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง salmon ซึ่งชิลีส่งออกมากเป็นอันดับสองรองจากนอร์เวย์) ผลไม้ และไวน์ (เฉพาะไวน์ที่บรรจุขวดแล้ว ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจานวนรวมประมาณ 125 ล้านลิตร) 
      เรื่องพลังงานก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากชิลีมีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางพลังงานที่ต้องพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติจากเพื่อนบ้านคืออาร์เจนตินา สิ่งที่เกิดขึ้นติดตามมาหลังจากแผ่นดินไหวอย่างหนึ่งก็คือไฟฟ้าดับ โดยใน คืนวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2553 ระหว่างที่พวกเราบางคนกาลังติดตามสถานการณ์ในเมืองไทยช่วงที่ม็อบเสื้อแดงกาลัง เตรียมจะเคลื่อนตัวจากราชดาเนินไปกรมทหารราบ ที่ 11 ร.อ. (เช้าวันที่ 15 มีนาคม 2553 ในเมืองไทย) ก็เกิดไฟฟ้าดับ เกือบทั่วทั้งประเทศชิลี โดยในกรุงซันติอาโก ไฟฟ้าเริ่มกลับมาตามปกติหลังจากที่เวลาผ่านไปแล้วมากกว่า 1 ชั่วโมง สำเหตุสาคัญก็คือระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว และมีข่าวว่าอาจเกิดไฟฟ้าดับอีกในช่วงเวลา 6 เดือนข้างหน้า

2. งานกงสุล

       การช่วยเหลือคุ้มครองคนไทยนับว่ามีความสาคัญลาดับแรกของสถานทูตในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้ชิลีมีลักษณะภูมิประเทศที่อาจเรียกได้ว่า “ผอม” ที่สุดในโลก คือมีลักษณะเรียวยาว ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกยาวกว่า 4,300 กิโลเมตร ลงไปจนถึงจุดที่เรียกว่าเป็นผืนแผ่นดินที่อยู่ใต้สุดของโลก ในขณะทิศตะวันออกมีเทือกเขาแอนดีสกั้นเป็นพรมแดน ชิลีจึงมีสภาพภูมิอากาศที่หลากหลายไปตามภูมิประเทศ ตั้งแต่ทะเลทราย ภูเขาไฟ เกาะแก่งจนถึงธารน้าแข็ง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีดินแดนบางส่วนในแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) ที่ชิลีอ้างสิทธิด้วยที่สำคัญคือ ชิลีมีที่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก หรือที่มีบางคนเรียกว่า Pacific Ring of Fire จึงมีความเสี่ยง ของการเกิดแผ่นดินไหว รวมถึงภูเขาไฟระเบิด ได้ทุกเมื่อ แผ่นดินไหวครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกเท่าที่มีการบันทึกได้ตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็เกิดขึ้นที่ชิลี โดยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2503 วัดความสั่นสะเทือนได้ในระดับ 9.5 ตามมาตราริคเตอร์ ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย สถานทูตได้มีการซักซ้อม การเตือนภัยกับคนไทยในชิลี ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 และหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เฮติ เมื่อเดือน มกราคม 2553 สถานทูตก็ได้ปรับปรุงข้อมูลคาแนะนาเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติรวมถึงแผ่นดินไหว สาหรับคนไทย ในชิลี ให้ละเอียดและชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยได้ประกาศใน website ของสถานทูต (www.thaiembassychile.org) และส่งเวียนให้ทุกคนทราบทาง e-mail ตามที่อยู่ที่แจ้งลงทะเบียนกับสถานทูตไว้
       เดิม สถานทูตมีกำหนดจะจัดการพบปะ ของคนไทยในชิลีครั้งต่อไปในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงเปิดเทอมการศึกษาของโรงเรียนและสถาบัน การศึกษาต่างๆ ในชิลี และเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่เดินทางกลับมาจากการพักร้อนแล้ว เพื่อจะได้ซักซ้อมเรื่องการเตือนภัย รวมถึงการหนีภัย/อพยพ แต่ก็มาเกิดเหตุเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เสียก่อน จึงได้ปฏิบัติจริงโดยไม่ต้องซักซ้อม กันอีกครั้ง มีคนไทยในชิลีจำนวนไม่มาก ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 มีคนไทยในชิลีเท่าที่สถานทูตได้รับทราบจานวนประมาณ 60 คน (นับรวมลูกครึ่งที่ยังไม่ได้จดทะเบียนแจ้งเกิดกับสถานทูตด้วย) โดยกลุ่มล่าสุดที่เพิ่งเดินทางมาถึงชิลี คือนักเรียน ระดับมัธยมปลายจากหลายๆ จังหวัดของเมืองไทยที่มาศึกษาในชิลีเป็นเวลา 1 ปีการศึกษาตามโครงการของ AFS ซึ่งเดินทางมาถึงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 จานวน 15 คน ผมและน้องเลขานุการโทซึ่งเป็นอดีตเด็ก AFS ที่ชิลีด้วย ได้เดินทางไปพบกับน้องๆ หลานๆ เหล่านี้ เมื่อบ่ายวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ค่ายลูกเสือ เมืองปิการ์กิน โดยได้ให้คาแนะนำเบื้องต้นต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในชิลี รวมถึงคำแนะนาเกี่ยวกับแผ่นดินไหวด้วย ตอนนั้น ก็ไม่ได้คิดเลยว่า ในเวลาอีกไม่ถึง 12 ชั่วโมงให้หลัง น้องๆ หลานๆ พวกนี้จะได้รับประสบการณ์ตรงกับตนเอง

       ในวันที่เกิดเหตุ เมื่อโทรศัพท์และ internet เริ่มใช้การได้ พวกเราที่มีอยู่ก็พยายามติดต่อคนไทยในชิลี และสำนักงาน AFS เมื่อได้รับทราบว่าทุกคนปลอดภัยดีก็โล่งใจ ในวันต่อมา สถานทูตก็จัดให้นักเรียนไทย AFS ไปพักที่บ้านพักท่านทูต ระหว่างที่รอการส่งมอบให้ครอบครัวอุปถัมภ์ตามเมืองต่างๆ อย่างปลอดภัย รวมถึงคนไทยอีกครอบครัวหนึ่งที่เพิ่งเดินทาง มาชิลีได้ไม่ถึงเดือน ก็ไปพักที่บ้านท่านทูตด้วย (ลูกสาววัยขวบเศษน่ารักมาก และซนขนาดคลานขึ้นบันไดจากชั้นล่าง ไปชั้นสองได้อย่างรวดเร็ว) ในเวลาต่อมา สำนักงาน AFS ทั้งที่ชิลี และในเมืองไทย ก็ขอบคุณสถานทูตที่ช่วยดูแลเด็กนักเรียนไทยช่วงที่ยังไม่สามารถ ส่งมอบให้ครอบครัวอุปถัมภ์ชาวชิลีได้ ทางสถานทูตก็รู้สึกดีใจที่ได้ช่วยดูแลนักเรียนไทย และหวังว่าน้องๆ หลานๆ ทุกคนจะเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ชิลี และช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้แนบแน่นมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย คนไทยที่สถานทูตเป็นห่วงมากที่สุดก็คือคนที่พำนักอยู่ที่เมืองกอนเซปซิออนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ผู้หญิงไทยคนนี้ เพิ่งจะเดินทางมาชิลีได้ไม่นานโดยติดตามสามีชาวเยอรมันซึ่งมาทางานที่ชิลี หลังจากที่ห่วงกังวลอยู่นาน ในที่สุด ผมก็สามารถติดต่อหญิงไทยคนนี้ทางโทรศัพท์ได้เมื่อบ่ายวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 มีเกร็ดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกนิดหนึ่ง ก็คือหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็มี e-mail ไปที่สถานทูต เขียนสั้นๆ โดยอ้างชื่อผู้หญิงไทยคนนี้ว่า ต้องการความช่วยเหลือในการเดินทางออกจากกอนเซปซิออนโดยด่วน (ดูจาก e-mail address แล้วเข้าใจว่าส่งจาก นอร์เวย์) ผมจึงรีบโทรไปหาหญิงไทยคนนั้น และได้รับทราบปลอดภัยดี ยังไม่ได้ต้องการเดินทางออกไปไหน เข้าใจว่าญาติหรือเพื่อนที่เป็นห่วง จึงส่งข่าวถึงสถานทูตให้แทนตนเอง มีคนไทยอีกคนหนึ่งที่เดินทางมาติดต่อธุรกิจที่ชิลี โดยไม่เคยติดต่อสถานทูตมาก่อน พอเกิดเหตุ ก็พยายามติดต่อสถานทูต โดยได้เบอร์โทรศัพท์มือถือของผมจากเพื่อนในเมืองไทย ซึ่งได้รับทราบมาจากรายการเล่าข่าวของทีวีช่องหนึ่ง ในเมืองไทยอีกทีหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นผลจากการที่สถานทูตพยายามลงข่าวและข้อมูลการติดต่อใน website อยู่ตลอด โดยสถานทูตได้ลงรูปและข่าวเกี่ยวกับเด็ก AFS ซึ่งถ่ายที่บ้านพักท่านทูตในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ด้วย เพื่อช่วยให้ พ่อแม่ที่เมืองไทยคลายกังวลไปได้ชั้นหนึ่งในยามที่ยังไม่สามารถติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์ได้ บ่ายวันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 สถานทูตมีกำหนดการจัดกิจกรรมเผยแพร่อาหารไทย ครั้งที่ 30 ที่บ้านพักท่านทูต เมื่อเกิดเหตุขึ้น จึงต้องเลื่อนกิจกรรมไปโดยปริยาย โดยสถานทูตได้นำวัตถุดิบที่ซื้อไว้สำหรับเตรียมจัดกิจกรรมฯ โดยเฉพาะของสดที่เก็บไม่ได้นาน ไปเลี้ยงอาหารคนไทยที่ไปพักที่บ้านพักท่านทูต ช่วงวันสองวันแรก เด็ก AFS จึงได้ ทานผัดไทยกันหลายครั้ง โดยปกติแล้วสถานทูตมีปริมาณงานด้านกงสุลไม่มากนัก โดยเฉพาะวีซ่า เนื่องจากไทยมีความตกลงยกเว้นวีซ่ากับชิลี คนมาขอวีซ่าจึงไม่มาก ในช่วง 2 -3 วันแรกที่เกิดเหตุ และสถานทูตยังไม่ได้เปิดทำการตามปกติ มีคนปากีสถานซึ่งมี ถิ่นพานักในชิลีมาขอวีซ่าเพราะจะรีบเดินทางเพียงรายเดียว

 

3. การบริหารสำนักงานและทรัพย์สินราชการ

           ในเช้าวันที่เกิดเหตุ เมื่อเริ่มมีแสงอาทิตย์ พวกเราข้าราชการซึ่งอยู่ตึกสูงกันทุกคนก็เดินลงบันไดหลายชั้นจากบ้าน และรวมตัวกันที่สถานทูต (แน่นอนว่าส่วนใหญ่ไม่ได้อาบน้ากันเพราะน้าไม่ไหล แต่ก็ยังสะอาดกันดีเพราะอากาศไม่ชื้น เหมือนเมืองไทย) แม้ว่าจะเสี่ยง แต่ก็จำเป็น เพราะต้องตรวจดูสภาพที่เกิดขึ้นจริงว่าที่ทำการสถานทูตได้รับความเสียหาย มากน้อยเพียงใด ที่ทำการสถานทูตซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 15 (วันนั้นพวกเราได้เดินขึ้นลงบันไดกันหลายรอบจนขาแข็ง โดยคนทาสถิติสูงสุดน่าจะเป็นที่ประมาณร้อยสามสิบชั้น) ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ประตูกระจกแตกสองบาน (จนถึงวันที่เขียนบันทึกนี้ ก็ยังมีเพียงแผงกั้นชั่วคราว เนื่องจากประตูกระจกที่สั่งทาใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ) มีรอยแตกรอยแยกที่ผนังห้อง และผนังกระจกหลายแห่ง แฟ้มบนตู้หล่นกระจาย ฯลฯ โชคยังดีที่ทรัพย์สินราชการต่างๆ ที่เป็นวัสดุครุภัณฑ์ในที่ทำการ ไม่มีการแตกหักเสียหาย

        หลังจากตรวจและถ่ายรูปสถานทูตแล้ว พวกเราก็ไปที่บ้านพักท่านทูตซึ่งห่างไปประมาณ 20 นาที ผู้ติดตามท่านทูต ค่อนข้างตื่นกลัว แต่ก็ปลอดภัยดี จากการสำรวจสภาพบ้านและบริเวณโดยรอบ ก็พบว่า ข้าวของหล่นจากตู้/ชั้นวาง มีรอยแตกรอยแยกอยู่หลายแห่ง แต่ไม่มีทรัพย์สินมีค่าอะไรที่เสียหาย อย่างไรก็ดี ก็ประมาทไม่ได้ สถานทูตต้องจ้างวิศวกรผู้เชี่ยวชาญไปตรวจดูโครงสร้างของบ้านว่ายังมีความปลอดภัยดีอยู่หรือไม่ บ้านพักท่านทูตนี้ รัฐบาลไทยซื้อไว้เมื่อปี 2539 (ก่อนวิกฤติต้มยากุ้งจะส่งผลกระทบต่องบประมาณรัฐบาลนิดเดียว) สภาพโดยรวมก็เริ่มเสื่อมไปตามอายุแล้ว ก่อนจะมีแผ่นดินไหวครั้งนี้ ก็มีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า ซึ่งขัดข้องอยู่บ่อยๆ สมควรที่จะเดินสายไฟฟ้า/วางระบบใหม่เพื่อความปลอดภัยด้วย
        อย่างไรก็ดี สภาพของบ้านพักท่านทูตยังมีความปลอดภัยมากกว่าที่สถานทูตและบ้านพักข้าราชการมาก (หลายคนกลัวการอยู่บนตึกสูงไปหลายวัน) จึงเหมาะสมในการใช้เป็นที่ติดต่อขอความช่วยเหลือ และเป็นที่พักชั่วคราวของคนไทยการที่มีคนอยู่มาก ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารการกิน และเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนี้ เมื่อมีคนอยู่มากกว่า 20 คนอยู่หลายวัน เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ก็รับไม่ไหว สิ่งหนึ่งที่สถานทูตต้องรีบซ่อมแซมก็คือห้องน้าที่ชารุดไปหลายห้อง
        โดยที่สถานทูตได้รับงบประมาณจำกัดมาก จึงต้องขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมการจากกระทรวงฯ สาหรับการซ่อมแซมต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือคนไทยเท่าที่จะเบิกได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังที่กำหนดไว้ ในส่วนของบ้านพักท่านทูต สถานทูตได้ทำประกันภัยไว้ แต่เน้นเรื่องการป้องกันอัคคีภัย เพราะเบี้ยประกันสาหรับแผ่นดินไหวนั้นสูงมาก หลังจากมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และประเมินราคาค่าซ่อมต่างๆ แล้ว สถานทูตก็ต้องหารือกับกระทรวงฯ ต่อไป ในขณะที่ที่ทำการสถานทูตค่อยยังชั่วหน่อย เพราะเป็นการเช่า และความเสียหายส่วนใหญ่ โดยเฉพาะประตูกระจกทางผู้บริหารอาคารรับที่จะซ่อมแซมให้ ส่วนอื่นๆ สถานทูตก็ต้องเจรจาให้บริษัทผู้ให้เช่าช่วยดำเนินการซ่อมแซมต่อไปการจัดจ้างซ่อมแซมต่างๆ นานาในชิลีมีกระบวนการที่ค่อนข้างล่าช้าอยู่แล้ว เช่น จะต้องมีการตรวจดูสถานที่จริงก่อนจึงจะสามารถออกใบเสนอราคาได้ และต้องมีการยืนยันการจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร จึงจะเริ่มดำเนินการซ่อมได้ โดยอาจไม่สามารถดาเนินการได้โดยทันที และในหลายกรณี การออกใบเสนอราคาก็มีค่าใช้จ่าย แม้ว่าจะไม่ใช้บริการในการซ่อมก็ตาม
       สำหรับการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่บ้านพักท่านทูตนั้น สถานทูตได้ติดต่อบริษัทที่ให้บริการไฟฟ้าโดยตรง เพื่อสอบเทียบราคาเป็นทางเลือกหนึ่งด้วย (ชิลี privatize เกือบทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภค) ก็ยิ่งมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นอีก คือหากจะใช้บริการของเขา ก็ต้องไปสำรวจสถานที่เบื้องต้นก่อน (จ่ายเงินครั้งที่ 1) สารวจสถานที่อีกครั้งและออกใบเสนอราคา (จ่ายเงินครั้งที่ 2) และทำการซ่อม (จ่ายเงินครั้งที่ 3) ทรัพย์สินราชการอีกอย่างที่ต้องดูแลก็คือรถยนต์ ขณะที่เกิดเหตุนั้น รถยนต์หลวง 3 คันรวมถึงรถประจาตำแหน่งท่านทูต จอดอยู่ใต้อาคารที่ทำการสถานทูต ไม่รวมถึงรถเบอร์สองที่ผมใช้อยู่ หากเป็นไปได้ ก็ควรย้ายรถออกไปจอดที่บ้านพักท่านทูตให้หมด แต่ตอนนั้นก็จนใจ เพราะมีผมที่ขับรถได้เพียงคนเดียว และไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ด้วย(ถึงติดต่อได้ ก็สงสารเขาที่ต้องเดินทางมาที่สถานทูตในขณะที่ตัวเองต้องดูแลครอบครัวในยามฉุกเฉิน และการเดินทางจากบ้านพักของแต่ละคนออกมาที่สถานทูตก็อาจไม่ปลอดภัยด้วย) ในขณะเดียวกัน ผมก็มีภารกิจอื่นๆ ต้องทำหลายอย่างรวมถึงการขับรถรับ-ส่งที่โน่นที่นี่ ผมจึงนึกไม่ออกว่า จะโยกย้ายรถรวม 4 คันไปบ้านพักท่านทูตได้อย่างไร จะเอามาจอดทิ้งไว้ข้างนอกตึกใกล้ๆ สถานทูต ก็ไม่ปลอดภัย ผมดูแล้วเห็นว่าโครงสร้างของอาคารที่ทำการสถานทูตแข็งแรง ไม่น่าจะมีการถล่มลงมาแน่ จึงไม่ได้ย้ายรถออกมา ซึ่งก็โชคดีที่นับเป็นการตัดสินใจที่ไม่ผิด เพราะไม่มีอะไรเสียหายเกิดขึ้นสำหรับบ้านพักข้าราชการก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนทั่วหน้า
      ผลอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวที่พบเจอกันมากคือประตูชำรุด บางคนไม่สามารถปิดประตูบ้านได้หลายวัน จะอยู่บ้านก็กลัวว่าใครจะเข้ามาทำอะไร จะย้ายไปอยู่บ้านคนอื่นชั่วคราว ก็ห่วงข้าวของในบ้าน เรื่องรอยแตกรอยแยกของผนังห้อง เพดานห้อง ก็เป็นเรื่องปกติที่มีทุกบ้านมากน้อยต่างกันเท่านั้น เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับดวงด้วยว่า เจ้าของบ้านรวมถึงนายหน้าของบ้านที่แต่ละคนเช่านั้น นิสัยดี และรับผิดชอบต่อผู้เช่าแค่ไหน พวกเราบางคนที่เจอเจ้าของบ้านไม่ดี ก็โชคร้ายหน่อย และคนที่อยู่ในตึกที่ค่อนข้างเก่า ซึ่งไม่ปลอดภัย ก็อาจจาเป็นต้องย้ายบ้านท่านทูตท่านให้ความสาคัญกับความปลอดภัยเป็นอย่างมาก วันไหนที่มี aftershocks และไม่ปลอดภัย ก็ให้ปิดทาการชั่วคราว โชคดีว่าตั้งแต่ที่เกิดเหตุ ไม่มีข้าราชการและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้รับบาดเจ็บใดๆ ยกเว้นภรรยาของคนขับรถคนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ก็ต้องป้องกันไว้สำหรับเหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่ทราบได้ ท่านทูตจึงได้สั่งการให้ซื้อของที่จาเป็นต่างๆ เตรียมไว้ เช่น หมวกนิรภัย (ที่ผมได้รับมอบหมายให้ใส่เป็นสีส้มสะดุดตา) ไฟฉายหลากหลายแบบและขนาด อาหารแห้ง ฯลฯ รัฐบาลชิลีได้ประกาศไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ เป็นเวลา 3 วัน (7 -9 มีนาคม 2553)โดยให้มีการลดธงครึ่งเสา แต่ไม่บังคับ สถานทูตก็ได้ลดธงชาติไทยครึ่งเสา ที่หน้าอาคารที่ทำการสถานทูตและที่บ้านพักท่านทูตเพื่อร่วมไว้อาลัยในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย (เรื่องนี้สถานทูตได้รับการยืนยันจากกองแบบพิธีด้วยความรวดเร็วว่าสถานทูตสามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติโดยคานึงถึงขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศและจารีตประเพณีท้องถิ่น)  
       นอกจากนี้ การที่ท่านทูตติดไปอาร์เจนตินากับเครื่องบินที่ไม่สามารถลงจอดในชิลีได้ สถานทูตก็ต้องขออนุมัติจากกระทรวงฯ ในการขอให้ท่านทูตเดินทางไปนอกเขตอาณาของสถานทูต เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบ แม้ว่าจะเป็นการเดินทางไปโดยไม่สมัครใจก็ตาม

4. ความสัมพันธ์ทวิภาคี

        เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 สถานทูตได้รับโทรสารจากสำนักราชเลขาธิการเชิญข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปยังประธานาธิบดีชิลีเมื่อได้รับแล้ว สถานทูตก็รีบทำหนังสือนำ และขอนัดหมายกับอธิบดีกรมพิธีการทูตของกระทรวงการต่างประเทศชิลีตามช่องทางทางการทูตในทันที ท่านอธิบดีฯ ท่านมีภารกิจยุ่งเหยิง (อีกไม่กี่วันต่อมาท่านอธิบดีผู้นี้ก็ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่นี้อีกหลังจากที่รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ) ท่านทูตจึงได้ขอนัดพบอธิบดีกรมเอเชียแปซิฟิกเป็นการด่วน ท่านอธิบดีท่านนี้เคยเป็นทูตชิลีประจำประเทศไทยมาก่อน และคุ้นเคยกับวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างดี ท่านซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง และขอรับหนังสือแทนอธิบดีกรมพิธีการทูต ท่านทูตจึงได้เชิญข้อความพระราชสาส์นฯ ไปยังประธานาธิบดีชิลีผ่านอธิบดีท่านนี้ เมื่อไปถึงท่านก็พาไปที่ห้องรับแขกของกรมฯ ซึ่งมีรอยแตกของผนังห้องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวชัดเจนมากอาคารที่ทำการปัจจุบันของกระทรวงการต่างประเทศชิลีเคยเป็นโรงแรมมาก่อน และค่อนข้างเก่า ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวค่อนข้างมากทีเดียว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ผมกับเพื่อนข้าราชการสองคนก็ได้ไปที่ กต. ชิลีเพื่อนำหนังสือนาส่งข้อความแสดงความเสียใจของท่านนายกรัฐมนตรี และท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซึ่งกองลาตินอเมริกาดาเนินการอย่างรวดเร็ว ไปมอบให้ตามช่องทางทางการทูต ปรากฏว่า ณ วันนั้น มีคนมาทำงานด่วนเพียงไม่กี่คน รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ (หากเป็นกระทรวงการต่างประเทศไทย ก็คงมีคนไปทางานเยอะแยะและเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินเรียบร้อยแล้ว)
       โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เป็น contact person เรื่องเหตุการณ์แผ่นดินไหว เป็นหนึ่งในจำนวนคนที่มาทางาน และมาพบกับพวกเรา แต่ ณ ขณะนั้น เขาก็ไม่มีข้อมูลใดๆ ให้กับเราได้เลยและทำท่าหวั่นเกรงอยู่เหมือนกันว่าอาคารที่ทางานของเขาจะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่คณะระดับสูงของไทยที่มาเยือนชิลีคณะล่าสุดคือคณะของผู้แทนการค้าไทยและผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนำคณะเอกชนไทยมาเยือนลาตินอเมริกา ตามโครงการ Roadshow ของกระทรวงฯ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2552 โดยได้ปูลู่ทางในการส่งเสริมการค้าไว้พอสมควร น่าเสียดายที่หลังจากเกิดแผ่นดินไหว มีกระแสข่าวว่าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรีของกระทรวงหนึ่งของไทยอาจตัดสินใจยกเลิกการเดินทางเยือนชิลี ซึ่งเดิมกำหนดไว้ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2553 โดยยังคงเดินทางไปเยือนประเทศอื่นๆ ในลาตินอเมริกา หากเยือนตามกำหนดเดิม ก็น่าจะได้“ใจ” จากชิลี ที่เพื่อนไทยไม่ทอดทิ้งในยามที่เพื่อนชิลีลาบาก และความเป็นจริงก็คือ ชิลีมีฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแรง (เป็นสมาชิกล่าสุดของ OECD ด้วย) น่าจะใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน การกระชับความสัมพันธ์ในยามที่ยากลำบากก็น่าจะเป็นประโยชน์สาหรับไทยในอนาคต 
       ในระบบของชิลีนั้น กระทรวงการต่างประเทศรับผิดชอบเรื่องการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชิลีคนใหม่ ชื่อนายอัลเฟรโด โมเรโน่ มีพื้นฐานเป็นนักธุรกิจ สาเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมอุตสาหการ และเอ็มบีเอ โดยเคยเป็นผู้บริหารเครือห้างสรรพสินค้าชั้นนาของชิลีด้วย (คือห้าง Falabella ซึ่งมีสาขาอยู่ในประเทศอื่นๆ ในลาตินอเมริกาด้วย) จึงชัดเจนว่า กระทรวงการต่างประเทศชิลีภายใต้รัฐบาลใหม่จะมุ่งเน้นเรื่องการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทา FTA กับประเทศต่างๆ ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี

 

5. บทบาทในการช่วยเหลือของไทย

        การช่วยเหลือของไทยแก่ชิลีมีส่วนช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยเป็นเพียงประเทศขนาดกลางๆ และตั้งอยู่ห่างไกลจากชิลี สถานทูตได้มีโทรเลขเสนอกระทรวงฯ ไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ว่ารัฐบาลไทยน่าจะให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ชิลีเป็นเงินสด ในจานวนเท่ากับที่ช่วยเหลือเฮติ คือ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ และในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 2 มีนาคม 2553 ก็ได้มีการอนุมัติความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้ชิลีตามที่กระทรวงฯ เสนอ คือให้เป็นเงินจานวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยท่านรัฐมนตรีว่าการฯ ได้มอบความช่วยเหลือเชิงสัญลักษณ์แก่ท่านทูตชิลีประจาประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 จากนั้น กระทรวงฯ ก็ส่งเงินมาให้สถานทูต เพื่อให้ท่านทูตมอบให้แก่รัฐบาลชิลี โดยโอนเงินจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 กว่าที่ธนาคารชิลีที่สถานทูตเปิดบัญชีไว้จะได้รับเงินโอนจากกระทรวงฯ ก็ใช้เวลาหลายวัน (ปกติธุรกรรมของธนาคารชิลีโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการโอนเงินระหว่างประเทศก็ช้า และมีกระบวนการมากมายอยู่แล้ว สาเหตุหนึ่งคือการป้องกันการฟอกเงินของขบวนการค้ายาเสพติด พอมาเจอแผ่นดินไหว ก็ยิ่งใช้เวลามากขึ้นอีก) สุดท้าย สถานทูตได้รับแจ้งจากธนาคารที่สถานทูตเปิดบัญชีอยู่เมื่อเย็นวันที่ 17 มีนาคม 2553 ว่า เงินเข้ามาในบัญชีแล้ว สถานทูตจึงรีบติดต่อขอให้ท่านทูตไปมอบเช็คต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชิลีคนใหม่ ซึ่งก็เป็นไปตามที่สถานทูตประสานล่วงหน้า ไว้ก่อนแล้ว
        อย่างไรก็ดี อธิบดีกรมเอเชียแปซิฟิกก็แจ้งท่านทูตในวันที่ 18 มีนาคม 2553 ว่า กระทรวงการต่างประเทศชิลีไม่สามารถรับเช็คได้ โดยขอให้สถานทูตนาเช็คไปเข้าบัญชีธนาคารที่รัฐบาลชิลีเปิดไว้รับเงินบริจาค ในชื่อ “Chile Ayuda a Chile” (ชิลีช่วยเหลือชิลี) และจะจัดพิธีมอบหลักฐานการฝากเงินบริจาคเข้าบัญชีธนาคารแก่ Sub-Secretary of Foreign Affairs ซึ่งเป็นบุคคลอันดับสองของกระทรวงการต่างประเทชิลีรองจากรัฐมนตรีว่าการ จึงอาจเทียบได้เท่ากับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศชิลี (ชิลีไม่มีตาแหน่งรัฐมนตรีช่วย ผู้ช่วยรัฐมนตรี หรือปลัดกระทรวง) ท่านทูตก็ให้ดาเนินการไปตามนั้น ซึ่งธนาคารชิลีที่รับผิดชอบเรื่องนี้ก็ช่วยเหลือสถานทูตเป็นอย่างดี โดยรับดาเนินการให้แม้ว่าจะเลยเวลาทาการปกติไปแล้ว (แต่ก็แจ้งด้วยว่า กว่าที่กระบวนการทางธนาคารต่างๆ จะเสร็จสมบูรณ์ ก็คงใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ รัฐบาลชิลีจึงจะสามารถนาเงินนี้ออกมาใช้ประโยชน์ได้) วันต่อมา กระทรวงการต่างประเทศชิลีก็จัดพิธีให้ท่านทูตได้ไปมอบหลักฐานการฝากเงินช่วยเหลือกับท่านรัฐมนตรีช่วยฯ ซึ่งเพิ่งเข้ารับตาแหน่งในรัฐบาลใหม่ ท่านก็ขอบอกขอบใจรัฐบาลไทยและคนไทยเป็นอย่างมากสาหรับความช่วยเหลือนี้ และรับจะเชิญท่านทูตไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ที่ได้รับการฟื้นฟูเนื่องจากความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ท่านเองได้เคยศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยโดยเฉพาะพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มามากพอสมควร และประทับใจในพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ท่านทูตและท่านรัฐมนตรีช่วยฯ จึงสนทนากันอย่างออกรส และฝ่ายไทยก็ชุ่มฉ่าใจเหมือนกับทุกครั้งเวลาที่พวกเรามีโอกาสได้เล่าให้คนต่างชาติฟังเรื่องสถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของคนไทยความเชื่อมโยงของไทยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชิลีประการหนึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมากจากสึนามิเมื่อปลายปี 2547 ภาพพจน์ของไทยสาหรับคนชิลีก็คือ ความสาเร็จในการฟื้นตัวจากเหตุภัยพิบัติดังกล่าวโดยมีการกล่าวถึงหลายครั้งในการรายงานข่าว และสื่อมวลชนชิลีก็ขอสัมภาษณ์สถานทูต ในขณะที่หน่วยงานของชิลีก็ขอรับข้อมูลและคาแนะนาจากประสบการณ์ของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรื่องที่พักอาศัยฉุกเฉินและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศชิลีก็เอ่ยปากขอข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ของไทยกับท่านทูตอีกครั้งเมื่อตอนที่ไปทาพิธีมอบเงินช่วยเหลือฯ ซึ่งฝ่ายไทยจะได้รวบรวมข้อมูลและจัดส่งให้ฝ่ายชิลีใช้ประโยชน์ต่อไปเกี่ยวกับสึนามินั้น สถานทูตได้ทาโครงการเชิญสถานีโทรทัศน์ MEGAVISION ไปถ่ายทาสารคดีเกี่ยวกับประเทศไทยหลังสึนามิ เมื่อปี 2549 โดยได้เริ่มออกอากาศช่วงต้นปี 2550 หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ชิลี สถานทูตก็ได้เสนอแนะให้สถานี MEGAVISION นาสารคดีดังกล่าวออกแพร่ภาพอีกครั้งเพื่อประโยชน์สาหรับสาธารณชนชิลีซึ่งสถานีฯ ก็ได้นาออกแพร่ภาพอีกครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อคืนวันที่ 15 มีนาคม 2553 และหลังจากออกอากาศซ้าครั้งนี้สถานีฯ ก็แจ้งว่าคนชิลีแสดงความสนใจจานวนมาก และมีหน่วยงานชิลีติดต่อขอรับสาเนา DVD ไปศึกษาด้วย

         ประสบการณ์การทำงานในสถานการณ์แบบนี้ หากเลือกได้ ทุกคนก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้นแต่ด้วยความที่เป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ต้องเตรียมพร้อมสาหรับทุกสถานการณ์ การเป็นข้าราชการกระทรวงฯ โดยเฉพาะคนที่ไปประจาการในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ จึงควรมีสุขภาพแข็งแรง และมีสภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง สามารถแก้ไขปัญหาและปฏิบัติงานต่างๆ ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีสติ และรวดเร็ว มี versatility ในขณะที่ความรู้ทางวิชาการต่างๆ ที่มีมากมายก็อาจไม่เป็นประโยชน์ในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้ จากประสบการณ์ครั้งนี้ ยิ่งทาให้เห็นชัดเจนว่า การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมถึงการมี Standard Operating Procedures (SOPs) ที่ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีหน้าที่ทาอะไร และรับรู้กันทั่วหน้า เป็นสิ่งสาคัญอย่างยิ่งนอกจากการรายงานต่างๆ สถานทูตก็ได้ถือโอกาสนี้ทาโทรเลขเข้าไปให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่างๆ หลายฉบับบางฉบับก็เวียน all points เพื่อสถานทูตถานกงสุลใหญ่ทั่วโลกทราบด้วย
        สถานทูตที่ซันติอาโกเพียงหวังว่า ข้อมูลจากประสบการณ์ของพวกเราที่ชิลีในครั้งนี้ อาจจะเป็นประโยชน์สาหรับการทางานของข้าราชการกระทรวงฯ เพราะไม่มีใครทราบว่าจะเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ขึ้นเมื่อใดและที่ไหน รวมถึงในประเทศไทย ภายใน 3 สัปดาห์หลังจากวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 นอกเหนือจาก aftershocks ที่เกิดขึ้นหลายร้อยครั้งในชิลี ก็มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลกคือที่ไต้หวัน สุมาตรา (2 รอบ) ตุรกี พม่า และคิวบา และภูเขาไฟระเบิดที่ไอซ์แลนด์ เพียงแต่ไม่มีความเสียหายรุนแรงเท่าที่เกิดขึ้นที่ชิลีหลังจากที่ทราบข่าว หลายๆ คนที่กระทรวงฯ และในประเทศต่างๆ ได้ส่งกาลังใจและความห่วงใยมาถึงข้าราชการสถานทูต และคนไทยในชิลี บางคนไม่เคยรู้จักกัน แต่ก็เสนอตัวให้ความช่วยเหลือต่างๆ บางคนไม่ได้ติดต่อกันหลายปีก็ยังนึกถึงกัน ท่านรัฐมนตรีว่าการฯ ได้โทรศัพท์มาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ระหว่างที่ท่านเดินทางไปราชการที่สวิตเซอร์แลนด์ ในขณะที่ท่านปลัดฯ ได้โทรศัพท์ถึงท่านทูต และมีโทรสารมาถึงข้าราชการสถานทูตทุกคน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2553 ผมขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณผู้บริหารกระทรวงฯ ทุกคน และเพื่อนข้าราชการที่อยู่ในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ที่แสดงความห่วงใยต่อสวัสดิภาพของข้าราชการและเจ้าหน้าที่สถานทูต รวมถึงคนไทยในชิลีทุกคนมาอีกครั้ง ณ ที่นี้ กอนเซเฮโร 21 มีนาคม 2553

 

หมายเหตุ

(1) คนชิลีใช้คาภาษาสเปนของแผ่นดินไหว ว่า “terremoto” (อ่านว่า เตเรโมโต -ฟังดูคล้ายภาษาญี่ปุ่น)ส่วนแผ่นดินไหวระดับย่อมๆ หน่อยส่วนใหญ่จะใช้คาว่า “temblor” (เต็มบลอร์) ส่วนสึนามิใช้คาว่า “maremoto” (มาเรโมโต) หรือในหลายกรณีก็ใช้คาว่าสึนามิทับศัพท์ ในขณะที่ aftershocks เรียกในภาษาสเปนว่า “replica” (เร-ปลิ-กา)

(2) ชิลีไม่มีตาแหน่งรองประธานาธิบดี โดยลาดับสองในรัฐบาลรองจากประธานาธิบดี ก็คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับผิดชอบโดยตรงเรื่องภัยพิบัติ (ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ในลาดับที่ 7)

(3) รัฐบาลชิลีจะต้องใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นฟูประเทศ โดยเฉพาะการก่อสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล อาคารบ้านเรือน ฯลฯ โดยการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐของชิลีใช้ระบบการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เมืองไทยใช้คาว่า e-Auction เกือบทั้งหมด และนับเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านนี้มากที่สุดประเทศหนึ่ง ภาคเอกชนของไทยที่สนใจจะร่วมประมูล สามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ www.chilecompra.cl

(4) ผู้เขียนได้เขียนบทความนี้ เมื่อปี 2553 ทั้งนี้ กรมอเมริกาฯ ได้นำมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบ รวมถึงใช้สำหรับประกอบรายการวิทยุสราญรมย์